วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

พระแก้วผลึก



พระเสตังคมณี
วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่



พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย
พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต




พระแก้วเชียงแสน
หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง




พระพุทธบุษยรัตนน้อย
หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง


พระพุทธรูปแก้วองค์น้อยนาคปรก
หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง



พระพุทธเพชรญาณ
หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง



พระพุทธปฏิมาแก้วผลึก



ไม่ทราบรายละเอียด



ไม่ทราบรายละเอียด



ไม่ทราบรายละเอียด



พระพุทธปฏิมากรแก้วผลึกหลายองค์
(วังหน้า) พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ



พระแก้วกรุฮอต
พิพิธภัณฑ์


หมายเหตุ : ท่านสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลทั่วไป 
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านและสืบค้นข้อมูล 
แหล่งข้อมูลที่แนะนำ "หนังสือ พระพุทธปฏิมาในพระบรมมหาราชวัง" 
"หนังสือออนไลน์ ลักษณะไทย" เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

Quartz/จุยเจีย/ROCK CRYSTAL/แก้วขาว/หินเขี้ยวหนุมาน


Quartz/จุยเจีย/ROCK CRYSTAL
/แก้วขาว/หินเขี้ยวหนุมาน


หินจุยเจีย เป็นภาษาจีน ออกเสียงว่า"จูเจีย" หรือ "จุยเจีย"  คือแร่ควอตซ์ (Quartz) ควอตซ์นั้นชื่อแร่มาจากภาษาเยอรมันโบราณ quartz  มีสูตรเคมีคือ  SiO2 (จริงๆแล้วเลข2ห้อยอยู่ข้างล่างตัวOนะครับ แต่โปรแกรมมันไม่ตอบสนองต่อสูตรเคมี) สูตรเคมีเดียวกับหินจุยเจียครับ และลักษณะการเกิดเหมือนกัน รูปผลึกระบบเฮกซะโกนาล มักจะเกิดเป็นแท่งยาวปลายแหลมทั้งหัวและท้ายเหมือนกัน บางครั้งก็เกิดเป็นผลึกแฝด มีเนื้อสมานแน่น ผลึกมีแทบทุกขนาด แข็ง 7 เป็นแร่หนึ่งในสเกลความแข็งของโมห์ ค่าความถ่วงจำเพาะ 2.65 รอยแตกเว้า ความวาวคล้ายแก้ว บางทีก็คล้ายเทียนไขส่องแสงเป็นประกายแวววาว สีอาจจะเป็นสีขาวหรือไม่มีสี 
หรืออาจมีมลทินมาเจือปนในรูปแบบต่างๆ เนื้อควอตซ์โปร่งใสถึงโปร่งแสงไม่หลอมละลายในกระบวนแร่ทั้งหลาย ไม่ละลายง่าย ละลายได้ในกรดเกลือ แร่ควอตซ์เกือบจะเป็นสารประกอบทางเคมีที่มีความบริสุทธิ์มากที่สุดและมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่คงที่ สรุปคือเป็นชนิดเดียวกันครับ ถ้าเป็นแบบมีมลทินอื่นๆมาแทรกจะเรียกว่าแก้วโป่งข่าม ถ้ามีสีต่างๆก็จะเรียกกันไปหลายชื่อครับเช่นสีม่วงเรียกว่าแก้วนางขวัญหรืออะเมทิส เป็นต้น 


แต่จะเรียกควอตซ์ที่ใสเท่านั้นครับว่า "จุยเจีย" ชาวจีนเรียกว่า "จุยเจีย"  ซึ่งแปลว่าสายน้ำ หมายถึง หินที่มีความใสเหมือนน้ำ  เชื่อกันว่าเป็นรัตนชาติที่มีความ ศักดิ์สิทธิ์ และมีพลังอานุภาพแห่งความขลังที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน เป็นพลังที่ดี สามารถ ป้องกันปัญหาต่างๆ และสามารถขจัดปัดเป่าสิ่งเลวร้าย ออกจากร่างกาย อาคารบ้านเรือนและสถานที่ทำงานได้ สามารถปรับสมดุลตามธรรมชาติ ของร่างกาย ได้เป็นอย่างดี นิยมเจียระไนเป็นลูกแก้ว รูปเคารพพระพุทธเจ้า รูปเคารพพระโพธิสัตว์กวนอิม จี้ประดับต่างๆ ลูกประคำ เป็นต้น



ชาวตะวันตกเรียกว่า “คริสตัล” (Crystal ) หรือ "ร็อคคริสตัล"(Rocks Crystal) คำว่าCrystalเป็นคำในภาษากรีก หมายถึงน้ำแข็งที่ถูกประดิษฐ์โดยพระเจ้า เชื่อกันว่าคริสตัล 
เป็นฟอสซิลของน้ำบริสุทธิ์ นิยมนำคริสตัลนี้มาทำเครื่องประดับ โคมแขวน ภาชนะ ฯลฯ นักบวชในศาสนาคริสต์บางคนนิยมนำคริสตัลมาทำเป็นจี้ไม้กางเขนหรือนำผลึกธรรมชาติมาห้อยคอเพื่อใช้ในการสวดภาวนา


ชาวล้านนาและล้านช้างเรียกว่า “แก้วขาว” นิยมนำมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป แล้วนำไปสมโภชปลุกเสกโดยพระสุปฏิปัณโณ เพื่อให้มีพุทธคุณครบถ้วนในทุกด้าน ตั้งแต่เมตตามหานิยม คุ้มครอง แคล้วคลาด ปลอดภัย มหาอุด คงกระพันชาตรี ป้องกันคุณไสย ภูตผีปีศาจ คุณคน มหาอำนาจ ตลอดจนเพิ่มพูนวาสนาบารมี 


ส่วนในวงศ์ขุนนางเจ้านายและพระมหากษัตริย์ต่างก็นิยมนำมาเป็นพระแก้วคู่บารมี ตัวอย่างเช่น พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย ( ไทยได้อัญเชิญมาจากประเทศลาว  ปัจจุบันอยู่ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต) 

พระเสตังคมณี ( พระพุทธรูปคู่บารมีของพระนางจามเทวี พญาเม็งราย  และกษัตริย์ราชวงศ์ล้านนาอีกหลายพระองค์ ) 


พระแก้วกรุเมืองฮอด 
( ขุดพบจำนวนมากที่กรุเมืองฮอด จ.เชียงใหม่) 
เป็นต้น 
ส่วนผลึกที่มีมลทินเรียกว่า “แก้วโป่งข่าม” นิยมนำมาเจียระไนเป็นจี้ประดับ เชื่อว่าแก้วโป่งข่ามแต่ละชนิดให้พลังอำนาจเสริมชะตาชีวิตในด้านที่ต่างกัน


ชาวไทยเรียกว่า “หินเขี้ยวหนุมาน” เพราะในประเทศไทยพบเพียงผลึกขนาดเล็ก ซึ่งมีลักษณะคล้ายเขี้ยวเพชรของหนุมานตามวรรณคดี จึงเรียกว่าหินเขี้ยวหนุมาน แทบไม่พบผลึกขนาดใหญ่ในประเทศไทย ส่วนมากที่เป็นผลึกใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศอื่น 

นิยมนำมาทำเป็นจี้ประดับ เชื่อว่าจะช่วยในด้านแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี พระสงฆ์บางสำนักนำลูกแก้วหินชนิดนี้มาใช้ในทางปฏิบัติธรรม  เชื่อว่าจะช่วยทำให้จิตเป็นสมาธิได้รวดเร็วขึ้น และป้องกันภยันตราย ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอัปมงคลต่างๆ ช่วยเสริมส่งวาสนาบารมี 
นำโชคลาภมาสู่ผู้ครอบครอง 

ส่วนในวงศ์ขุนนางเจ้านายและพระมหากษัตริย์ นิยมนำมาแกะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีประจำพระองค์ ตัวอย่างเช่น 
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย (พระแก้วประจำรัชกาลที่2) 

พระแก้วองค์น้อยนาคปรก (พระแก้วสำคัญสมัยรัชกาลที่3) 

พระแก้วเชียงแสน (พระแก้วประจำรัชกาลที่4) 

พระพุทธบุษยรัตนน้อย (พระแก้วประจำรัชกาลที่5) 

พระพุทธเพชรญาณ (พระแก้วประจำรัชกาลที่6) 

และพระพุทธปฏิมาแก้วผลึก (พระแก้วประจำรัชกาลที่9) 
เป็นต้น

หมายเหตุ:บทความนี้มีไว้เพื่อการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องQuartz ครับ ขออภัยด้วยหากไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มา โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านและสืบค้นข้อมูล


โดย ก้องนเรนทร์ มาอุ่น